โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางใหญ่
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

 

ไข้หวัด ( Common cold ) 

    ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์

    โรคหวัดเป็นที่พบบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียนในปีแรกๆ อาจเป็นเฉลี่ยประมาณเดือนละครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วทุกคนจะติดเชื้อหนึ่งครั้งต่อปี เมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดต่างๆ มากขึ้น ก็จะป่วยเป็นไข้หวัดห่างขึ้นและมีอาการรุนแรงน้อยลง โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายดายการอยู่ใกล้ชิดกัน จึงพบมากในโรงเรียน โรงงาน และที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ

         โรคหวัดเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝนฤดูหนาว หรือในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนฤดูร้อนจะน้อย ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด มีอยู่เกือบ 200 ชนิด ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนต้นครั้งละชนิด จึงไม่น่าแปลกอะไรที่จะทำให้คนป่วยเป็นโรคหวัดได้บ่อย ๆ ในหนึ่งปี

อาการ

        ผู้ใหญ่ มีอาการจาม และน้ำมูกไหลจะนำมาก่อน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักไม่ค่อยมีไข้ เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมงและหมดใน 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดหู เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง บางรายเยื่อบุตาอักเสบ เจ็บคอกลืนลำบาก โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์

        ในเด็กอาจจะรุนแรง และมักมีการแพร่ไปเป็นหลอดลมอักเสบ ปอดบวมเป็นต้น 

 การติดต่อ

        โรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น สามารถติดต่อจากน้ำลายและเสมหะผู้ป่วย นอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรคก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตา ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดง่ายคือ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเด็กที่ขาดอาหาร เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก

        การแพร่กระจายของเชื้อหวัด กล่าวโดยสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้
        1.ติดต่อทางการหายใจสูดเอาละอองเสมหะหรือน้ำมูกของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อยู่ แล้ว เนื่องจากพบเชื้อโรคชนิดนี้อยู่เป็นปริมาณในน้ำมูกหรือเสมหะ
        2.ติดต่อโดยการที่มือไปสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่น เครื่องใช้ในที่สาธารณะเช่น โดยเฉพาะถ้าสัมผัสกับลูกบิดประตู ราวโหนรถเมล์หรือราวบันได
        3.ซึ่งหนึ่งในนั้นอาจจะมีคนที่ป่วยเป็นไข้หวัดอยู่แล้ว หลังจากการสัมผัสนั้น เราก็นำเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการที่มือมาสัมผัสกับจมูกหรือช่องปากของเรา เอง
        4.เชื้อกระจายเข้าสู่ร่างกายโดยที่มือที่ไปสัมผัสเชื้อ มาสัมผัสกับดวงตาของเรา ซึ่งเชื้อจะไหลลงไปกับน้ำตาลงสู่ท่อน้ำตา ที่จะเทลงสู่โพรงจมูกต่อไป ทำให้เชื้อเข้าไปในโพรงจมูกได้

การรักษา

        หลักการที่สำคัญคือการเริ่มให้การรักษาเร็วที่สุด ทันทีที่เริ่มมีอาการ
        การรักษาอาการโดยทั่วไป
        1.การดื่มน้ำมากๆ ช่วยทำให้น้ำมูกหรือเสมหะใสขึ้นและทำให้ขับน้ำมูกหรือเสมหะได้ง่ายขึ้น น้ำอุ่นจะทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณคอหอยละลายได้ง่ายกว่าน้ำเย็น แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ชี้ชัดว่าลงไปว่าอะไรดีกว่า กันระหว่างการดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น 
        2.พักผ่อนให้เพียงพอและทำให้ร่างกายอบอุ่น แต่ไม่ควรร้อนเกินไป
        3.หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสได้โดยง่ายและทำให้เกิดการ อักเสบติดเชื้อในไซนัสได้
        4.ทำอากาศให้ชื้นมากขึ้นด้วยเครื่องทำละอองความชื้น (Humidifier) เพราะจะทำให้อากาศไม่แห้งและทำให้เยื่อบุโพรงจมูกชุ่มชื้น น้ำมูกจะใสขึ้นและถูกขับออกมาได้ง่าย
        5.อยู่ในสถานที่ที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี
        6.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่หรือควันไฟมากเพราะจะทำให้เยื่อบุ ระคายเคืองอีกทั้งทำให้การระบายน้ำมูกหรือเสมหะเป็นไปได้ลำบาก

การรักษาด้วยยา 
        1.ยาต้านฮิสตามิน (antihistamine) เพื่อลดการคัดจมูกและ ลดน้ำมูก
        2.ยาแก้อักเสบ (ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะนะครับ) ในกลุ่ม Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAID) ช่วยลดอาการทางร่างกายทั่วไปเช่นปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ หรือไข้ รวมทั้งอาจจะช่วยลดอาการไอได้ด้วย
        3.ยาลดบวมในโพรงจมูก และยาแก้ไอ
        4.ยาปฏิชีวนะ จะเริ่มให้เมื่อเริ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่นน้ำมูกหรือเสมหะเป็นสีเขียว 

  

 

กฏการใช้เวบบอร์ด

1. ห้ามตั้งกระทู้ที่พาดพิงถึงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ห้ามตั้งกระทู้เกี่ยวกับการเมือง
3. ห้ามตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องลามก-อนาจาร

   Main webboard   »   สุขภาพ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ความรู้ทั่วไปเรื่องโรคเบาหวาน  (Read: 3185 times - Reply: 0 comments)   
kanjanarat

Posts: 8 topics
Joined: 15/12/2553

ความรู้ทั่วไปเรื่องโรคเบาหวาน
« Thread Started on 21/12/2553 22:56:00 IP : 124.121.49.10 »
 

        โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

โรคเบาหวานคืออะไร

อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท

ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย

อาการของโรคเบาหวาน

คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อย

  • คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึกหรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
  • ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
  • ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลงเนื่องจากร่างกายน้ำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ
  • อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน
  • คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง
  • เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง
  • ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก
  • อาเจียน

น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเมื่อเป็นโรคนี้ระยะหนึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กเรียก microvacular หากมีโรคแทรกซ้อนนี้จะทำให้เกิดโรคไต เบาหวานเข้าตา  หากเกิดหลอดเลือดเลือดแดงใหญ่แข็งเรียก macrovascular โดยจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพาต หลอดเลือดแดงที่ขาตีบนอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปลายประสาทอักเสบ neuropathic ทำให้เกิดอาการชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทอัตโนมัติเสื่อม

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคเบาหวาน

  1. จากการสังเกตุอาการต่าง ๆ ดังนี้
    • กินจุ , คันตามผิวหนัง
    •  น้ำหนักลด, เป็นแผลรักษายาก
    •  หิวน้าบ่อย, อ่อนเพลีย
    •  ปัสวะมาก และ บ่อย, หญิงที่แท้งบุตรบ่อย
    •  ชาตามมือตามเท้า, ทารกตายในครรภ์
    •  คลอดก่อนกำหนด, ตาพร่ามัว
    •  คลอดบุตรตัวโต น้ำหนักเกิน 4,000 กรัม
  2. จากการาตรวจเลือด เมื่อตรวจเลือดแล้วพบน้ำตาลสูงกว่า 115 มิลลิกรัม ใน 100 มิลลิลิตร (คนปกติระดับน้ำตาล 70-100 มิลลิกรัม)

การปฏิบัติตัว และการป้องกัน

  1.  ลดอาหารที่มีนำตาลทุกชนิด เช่น ขนมหวาน ลูกอม เครื่องดื่มรสหวาน และที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ เช่น ทุเรียน ขนุน องุ่น
  2.  ลดอาหารเนื้อสัตว์ติดมันต่าง ๆ
  3.  ลดอาหารประเภทไขมัน ที่ได้จากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนย และของทอดทุกชนิด
  4.  ลดอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ
  5.  เพิ่มอาหารประเภทผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักประเภทใบ ได้แก่ ผักคะน้า ตำลึง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี
  6.  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับวัย
  7.  ตรวจสุขภาพร่ายกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง

 

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สุขภาพ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 55,265 Today: 16 PageView/Month: 192

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...