โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางใหญ่
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

 

ไข้หวัด ( Common cold ) 

    ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์

    โรคหวัดเป็นที่พบบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียนในปีแรกๆ อาจเป็นเฉลี่ยประมาณเดือนละครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วทุกคนจะติดเชื้อหนึ่งครั้งต่อปี เมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดต่างๆ มากขึ้น ก็จะป่วยเป็นไข้หวัดห่างขึ้นและมีอาการรุนแรงน้อยลง โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายดายการอยู่ใกล้ชิดกัน จึงพบมากในโรงเรียน โรงงาน และที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ

         โรคหวัดเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝนฤดูหนาว หรือในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนฤดูร้อนจะน้อย ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด มีอยู่เกือบ 200 ชนิด ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนต้นครั้งละชนิด จึงไม่น่าแปลกอะไรที่จะทำให้คนป่วยเป็นโรคหวัดได้บ่อย ๆ ในหนึ่งปี

อาการ

        ผู้ใหญ่ มีอาการจาม และน้ำมูกไหลจะนำมาก่อน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักไม่ค่อยมีไข้ เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมงและหมดใน 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดหู เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง บางรายเยื่อบุตาอักเสบ เจ็บคอกลืนลำบาก โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์

        ในเด็กอาจจะรุนแรง และมักมีการแพร่ไปเป็นหลอดลมอักเสบ ปอดบวมเป็นต้น 

 การติดต่อ

        โรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น สามารถติดต่อจากน้ำลายและเสมหะผู้ป่วย นอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรคก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตา ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดง่ายคือ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเด็กที่ขาดอาหาร เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก

        การแพร่กระจายของเชื้อหวัด กล่าวโดยสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้
        1.ติดต่อทางการหายใจสูดเอาละอองเสมหะหรือน้ำมูกของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อยู่ แล้ว เนื่องจากพบเชื้อโรคชนิดนี้อยู่เป็นปริมาณในน้ำมูกหรือเสมหะ
        2.ติดต่อโดยการที่มือไปสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่น เครื่องใช้ในที่สาธารณะเช่น โดยเฉพาะถ้าสัมผัสกับลูกบิดประตู ราวโหนรถเมล์หรือราวบันได
        3.ซึ่งหนึ่งในนั้นอาจจะมีคนที่ป่วยเป็นไข้หวัดอยู่แล้ว หลังจากการสัมผัสนั้น เราก็นำเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการที่มือมาสัมผัสกับจมูกหรือช่องปากของเรา เอง
        4.เชื้อกระจายเข้าสู่ร่างกายโดยที่มือที่ไปสัมผัสเชื้อ มาสัมผัสกับดวงตาของเรา ซึ่งเชื้อจะไหลลงไปกับน้ำตาลงสู่ท่อน้ำตา ที่จะเทลงสู่โพรงจมูกต่อไป ทำให้เชื้อเข้าไปในโพรงจมูกได้

การรักษา

        หลักการที่สำคัญคือการเริ่มให้การรักษาเร็วที่สุด ทันทีที่เริ่มมีอาการ
        การรักษาอาการโดยทั่วไป
        1.การดื่มน้ำมากๆ ช่วยทำให้น้ำมูกหรือเสมหะใสขึ้นและทำให้ขับน้ำมูกหรือเสมหะได้ง่ายขึ้น น้ำอุ่นจะทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณคอหอยละลายได้ง่ายกว่าน้ำเย็น แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ชี้ชัดว่าลงไปว่าอะไรดีกว่า กันระหว่างการดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น 
        2.พักผ่อนให้เพียงพอและทำให้ร่างกายอบอุ่น แต่ไม่ควรร้อนเกินไป
        3.หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสได้โดยง่ายและทำให้เกิดการ อักเสบติดเชื้อในไซนัสได้
        4.ทำอากาศให้ชื้นมากขึ้นด้วยเครื่องทำละอองความชื้น (Humidifier) เพราะจะทำให้อากาศไม่แห้งและทำให้เยื่อบุโพรงจมูกชุ่มชื้น น้ำมูกจะใสขึ้นและถูกขับออกมาได้ง่าย
        5.อยู่ในสถานที่ที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี
        6.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่หรือควันไฟมากเพราะจะทำให้เยื่อบุ ระคายเคืองอีกทั้งทำให้การระบายน้ำมูกหรือเสมหะเป็นไปได้ลำบาก

การรักษาด้วยยา 
        1.ยาต้านฮิสตามิน (antihistamine) เพื่อลดการคัดจมูกและ ลดน้ำมูก
        2.ยาแก้อักเสบ (ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะนะครับ) ในกลุ่ม Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAID) ช่วยลดอาการทางร่างกายทั่วไปเช่นปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ หรือไข้ รวมทั้งอาจจะช่วยลดอาการไอได้ด้วย
        3.ยาลดบวมในโพรงจมูก และยาแก้ไอ
        4.ยาปฏิชีวนะ จะเริ่มให้เมื่อเริ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่นน้ำมูกหรือเสมหะเป็นสีเขียว 

  

 

กฏการใช้เวบบอร์ด

1. ห้ามตั้งกระทู้ที่พาดพิงถึงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ห้ามตั้งกระทู้เกี่ยวกับการเมือง
3. ห้ามตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องลามก-อนาจาร

   Main webboard   »   สุขภาพ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   รู้จักเลือก…รู้จักเลี่ยง ไม่เสี่ยงเป็น”ความดันโลหิตสูง”  (Read: 2423 times - Reply: 0 comments)   
kanjanarat

Posts: 8 topics
Joined: 15/12/2553

รู้จักเลือก…รู้จักเลี่ยง ไม่เสี่ยงเป็น”ความดันโลหิตสูง”
« Thread Started on 6/1/2554 18:16:00 IP : 124.122.218.62 »
 

รู้จักเลือก…รู้จักเลี่ยง ไม่เสี่ยงเป็น”ความดันโลหิตสูง”


      
      โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

     “ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่ปรากฏอาการใด ๆ จึงไม่ได้เข้ารับการรักษาและไม่มีการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม ซึ่งในรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก ๆ อาจนำไปสู่การเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ ดังนั้นความดันโลหิตสูงจึงเปรียบเสมือนเพชฌฆาตเงียบที่คร่าชีวิตคนจำนวนมาก ไปแบบไม่รู้ตัว”

 

ความดันโลหิตคืออะไร

        ความดันโลหิตเป็นแรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด จะวัดออกมาเป็นค่ามิลลิเมตร ปรอทการวัดความดันจะวัดออกมา สองค่าคือ ค่าตัวบนหรือที่เรียกว่า Systolic เป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ส่วน Diastolic เป็นความดันตัวล่าง เป็นความดันโลหิตขณะที่ หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราจะขึ้นๆลงๆ เวลาหลับความดันโลหิตจะต่ำกว่าเวลาตื่นเต้น เวลาตกใจ กลัว ดีใจ เครียด เหนื่อย ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ความดันโลหิตที่สูงไม่ยอมลงเรียกความดันโลหิตสูง
        โดยปกติผู้ที่อายุไม่ถึง 40 ปี ความดันโลหิตไม่ควรเกิน 140/90 มม.ปรอท ค่าความดันตัวบนอาจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ จะทราบค่าความดันโลหิตตัวบนปกติของแต่ละอายุได้ โดยนำจำนวนอายุมาบวกกับ 100 โดยทั่วไปความดันตัวบนไม่ควรเกิน 160 มม.ปรอท และความดันตัวล่าง (ในผู้ใหญ่) ไม่อายุเท่าไหร่ก็ตามไม่ควรเกิน 90 มม.ปรอท

อาการความดันโลหิตสูง

       ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาการที่พบได้ทั่วไปคือ ปวดศีรษะ มักปวดบริเวณท้ายทอย จะเป็นในช่วงเช้า พบใน คนที่มีอาการรุนแรง อาการนี้จะหายไปเองได้แต่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง และอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น เหนื่อยง่าย ความรู้สึกทางเพศลดลง เลือดกำเดาออก  ปัสสาวะเป็นเลือด  ตาพร่ามัว

ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง

    * ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะเป็นผู้ที่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย พี่ ป้า น้า อา มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง โรคอ้วนหรือเบาหวานมาก่อน
    * เส้นโลหิตใหญ่ตีบตัน ได้แก่ เส้นโลหิตใหญ่ในช่องท้องหรือเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน ถ้าเป็นระยะแรก ๆ ในคนหนุ่มสาวจะแก้ไขได้โดยการทำผ่าตัด
    * มีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต แก้ไขโดยการทำผ่าตัด
    * โรคครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดรวมกับการตั้งครรภ์ ความดันโลหิตจะลดลงภายหลังคลอด
    * โรคไต เช่น ไตอักเสบ หรือโรคไตเรื้อรังบางชนิด
    * ใช้ยาคุมกำเนิดในสตรีบางคน ความดันโลหิตจะหลับปกติเมื่อหยุดยา
    * มีความเครียด วิตกกังวล

ถ้าสงสัยว่าความดันโลหิตผิดปกติควรทำอย่างไร

       ถ้าสงสัยว่าความดันโลหิตจะผิดปกติ ควรได้รับการวัดความดันโลหิตจากแพทย์หรือพยาบาล เป็นวิธีการตรวจง่าย ๆ ท่านก็จะทราบความดันโลหิตของท่าน ถ้าวัดครั้งแรกสูงกว่า 160/95 มม.ปรอท ควรนอนพัก 5-10 นาทีแล้ววัดใหม่ ถ้วยังสูงเท่าเดิม ควรจะต้องวัดซ้ำในระยะ 2-3 สัปดาห์ ถ้ายังสูงอยู่ถือได้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งควรจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยปกติความดันโลหิตจะไม่คงที่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อารมณ์และสิ่งแวดล้อมด้วย

จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อมีความดันโลหิตสูง

       เมื่อตรวจพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ และปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
       1. งดอาหารที่มีรสเค็ม เช่น ไข่เค็ม กะปิ เต้าเจี้ยว หมูเค็ม ฯลฯ อาหารที่รับประทานควรปรุงด้วยเกลือหรือน้ำปลายน้อยที่สุด
       2. ลดอาหารมันทุกชนิด และหลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ เช่น ขาหมู หมู 3 ชั้น อาหารประเภททอดหรือผัดอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ ใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารควรรับประทานไข่ไม่เกิยอาทิตย์ละ 3 ฟอง หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาย เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เกี่ยมอี๋ วุ้นเส้น เผือก มัน ขนมหวาน และผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่
       3. งดบุหรี่ และเหล้า
       4. ทำจิตใจให้สบายไม่เครียดและวิตกกังวล หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น
       5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยการเดิน วิ่งขี่จักรยาน โดยเริ่มทีละน้อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง 30-45 นาทีต่อวัน การออกกำลังกายจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียดและทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตดีขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายประเภทที่ต้องออกแรงดึงดัน กลั้นหายใจหรือแบ่ง เช่น การชักเย่อ ยกน้ำหนักวิดน้ำ เป็นต้น
       6. สตรีที่มีความดันโลหิตสูงจากยาคุมกำเนิดควรหยุดยา ปรึกษาแพทย์และพยาบาลเพื่อหาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
       7. รับประทานยาตามที่แพทย์และพยาบาลแนะนำและมาตรวจตามนัด ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ได้แก่
           ก. ยากล่อมประสาท เพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวล ภายหลังรับประทานยาอาจจะรู้สึกง่วง จึงไม่ควรขับรถหรือทำงานที่เสี่ยงอันตราย
           ข. ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดจำนวนน้ำและเกลือในร่างกาย ผู้ที่รับประทานยาจะปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการอ่อนเพลีย ท้องอืด หน้ามืด วิงเวียน หรือเป็นตะคริว เนื่องจากมีการขับเกลือแร่ออกไปทางปัสสาวะ จึงจำเป็นต้องรับประทานเกลือแร่ทดแทน หรือรับประทานผลไม้ที่มีเกลือแร่เป็นประจำ เช่น สม กล้วย เป็นต้น
          ค. ยาลดความดันโลหิต ภายหลังรับประทานยาถ้าสังเกตพบว่ามีอาการหน้ามืด วิงเวียน อาจเป็นเพราะความดันโลหิตลดต่ำลงมากเกินไป ถ้ามีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม

[color=blue] จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีความดันโลหิตสูงแล้วไม่รักษาหรือรักษาและปฏิบัติตัวไม่สม่ำเสมอ[/color]

       1. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้วไม่รักษา หรือรักษาและปฏิบัติตัวไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดภาวะความดันโลหิตสูงร้ายแรงขึ้น โดยเฉพาะถ้าค่าความดันโลหิตตัวล่างสูงเกิน 130 มม.ปรอท จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังนี้ สายตาเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว หรือตาบอด หลอดเลือดในตาอาจตีบตันหรือแตกมีการตกเลือดในตาหรือบวมในชั้นตาที่รับภาพ
       2. อาการทางสมอง หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาจชักหรือไม่รู้สึกตัว และอาจเกิดอัมพาตถ้ารักษาไม่ทัน
       3. หัวใจล้มเหลว จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานมากขึ้น จึงทำให้หัวใจโต เกิดอาการเหนื่อย หอบหายใจลำบาก โดยเฉพาะทางกลางคืน และภาวะความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อขาดเลือดจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
       4. ไตพิการ หรือไตอักเสบ เกิดอาการบวม

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติหรือไม่


       สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่มาก และได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกต่อเนื่อง และปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอโดยยังไม่มีภาวะหัวใจโต หรือกล้ามเนื้อหัวใจหน้าขึ้น ไม่มีภาวะไตวาย และหลอดโลหิตยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักมีโอกาสจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติ แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้วมิได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวย่อมน้อยลง


 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สุขภาพ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 55,259 Today: 10 PageView/Month: 184

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...