โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางใหญ่
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

 

ไข้หวัด ( Common cold ) 

    ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์

    โรคหวัดเป็นที่พบบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางคนอาจเป็นปีละหลายครั้ง โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียนในปีแรกๆ อาจเป็นเฉลี่ยประมาณเดือนละครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วทุกคนจะติดเชื้อหนึ่งครั้งต่อปี เมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดต่างๆ มากขึ้น ก็จะป่วยเป็นไข้หวัดห่างขึ้นและมีอาการรุนแรงน้อยลง โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายดายการอยู่ใกล้ชิดกัน จึงพบมากในโรงเรียน โรงงาน และที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ

         โรคหวัดเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝนฤดูหนาว หรือในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนฤดูร้อนจะน้อย ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด มีอยู่เกือบ 200 ชนิด ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนต้นครั้งละชนิด จึงไม่น่าแปลกอะไรที่จะทำให้คนป่วยเป็นโรคหวัดได้บ่อย ๆ ในหนึ่งปี

อาการ

        ผู้ใหญ่ มีอาการจาม และน้ำมูกไหลจะนำมาก่อน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักไม่ค่อยมีไข้ เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมงและหมดใน 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดหู เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง บางรายเยื่อบุตาอักเสบ เจ็บคอกลืนลำบาก โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์

        ในเด็กอาจจะรุนแรง และมักมีการแพร่ไปเป็นหลอดลมอักเสบ ปอดบวมเป็นต้น 

 การติดต่อ

        โรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น สามารถติดต่อจากน้ำลายและเสมหะผู้ป่วย นอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรคก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตา ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดง่ายคือ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเด็กที่ขาดอาหาร เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก

        การแพร่กระจายของเชื้อหวัด กล่าวโดยสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้
        1.ติดต่อทางการหายใจสูดเอาละอองเสมหะหรือน้ำมูกของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อยู่ แล้ว เนื่องจากพบเชื้อโรคชนิดนี้อยู่เป็นปริมาณในน้ำมูกหรือเสมหะ
        2.ติดต่อโดยการที่มือไปสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่น เครื่องใช้ในที่สาธารณะเช่น โดยเฉพาะถ้าสัมผัสกับลูกบิดประตู ราวโหนรถเมล์หรือราวบันได
        3.ซึ่งหนึ่งในนั้นอาจจะมีคนที่ป่วยเป็นไข้หวัดอยู่แล้ว หลังจากการสัมผัสนั้น เราก็นำเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการที่มือมาสัมผัสกับจมูกหรือช่องปากของเรา เอง
        4.เชื้อกระจายเข้าสู่ร่างกายโดยที่มือที่ไปสัมผัสเชื้อ มาสัมผัสกับดวงตาของเรา ซึ่งเชื้อจะไหลลงไปกับน้ำตาลงสู่ท่อน้ำตา ที่จะเทลงสู่โพรงจมูกต่อไป ทำให้เชื้อเข้าไปในโพรงจมูกได้

การรักษา

        หลักการที่สำคัญคือการเริ่มให้การรักษาเร็วที่สุด ทันทีที่เริ่มมีอาการ
        การรักษาอาการโดยทั่วไป
        1.การดื่มน้ำมากๆ ช่วยทำให้น้ำมูกหรือเสมหะใสขึ้นและทำให้ขับน้ำมูกหรือเสมหะได้ง่ายขึ้น น้ำอุ่นจะทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณคอหอยละลายได้ง่ายกว่าน้ำเย็น แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ชี้ชัดว่าลงไปว่าอะไรดีกว่า กันระหว่างการดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น 
        2.พักผ่อนให้เพียงพอและทำให้ร่างกายอบอุ่น แต่ไม่ควรร้อนเกินไป
        3.หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสได้โดยง่ายและทำให้เกิดการ อักเสบติดเชื้อในไซนัสได้
        4.ทำอากาศให้ชื้นมากขึ้นด้วยเครื่องทำละอองความชื้น (Humidifier) เพราะจะทำให้อากาศไม่แห้งและทำให้เยื่อบุโพรงจมูกชุ่มชื้น น้ำมูกจะใสขึ้นและถูกขับออกมาได้ง่าย
        5.อยู่ในสถานที่ที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี
        6.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่หรือควันไฟมากเพราะจะทำให้เยื่อบุ ระคายเคืองอีกทั้งทำให้การระบายน้ำมูกหรือเสมหะเป็นไปได้ลำบาก

การรักษาด้วยยา 
        1.ยาต้านฮิสตามิน (antihistamine) เพื่อลดการคัดจมูกและ ลดน้ำมูก
        2.ยาแก้อักเสบ (ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะนะครับ) ในกลุ่ม Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAID) ช่วยลดอาการทางร่างกายทั่วไปเช่นปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ หรือไข้ รวมทั้งอาจจะช่วยลดอาการไอได้ด้วย
        3.ยาลดบวมในโพรงจมูก และยาแก้ไอ
        4.ยาปฏิชีวนะ จะเริ่มให้เมื่อเริ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่นน้ำมูกหรือเสมหะเป็นสีเขียว 

  

 

กฏการใช้เวบบอร์ด

1. ห้ามตั้งกระทู้ที่พาดพิงถึงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ห้ามตั้งกระทู้เกี่ยวกับการเมือง
3. ห้ามตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องลามก-อนาจาร

   Main webboard   »   สุขภาพ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ภาวะอ้วนลงพุง มหันตภัยเงียบที่คุณคาดไม่ถึง  (Read: 2228 times - Reply: 0 comments)   
kanjanarat

Posts: 8 topics
Joined: 15/12/2553

ภาวะอ้วนลงพุง มหันตภัยเงียบที่คุณคาดไม่ถึง
« Thread Started on 6/1/2554 18:29:00 IP : 124.122.218.62 »
 

ภาวะอ้วนลงพุง มหันตภัยเงียบที่คุณคาดไม่ถึง




       คนที่อ้วนลงพุงจะ

มีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก ยิ่งรอบพุงมากเท่าไหร่ไขมันสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น ไขมันที่สะสมนี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดเป็น “ภาวะอ้วนลงพุง” ซึ่งเป็นเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือด โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองโดยเอวที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 5 ซม. จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า ดังนั้น

 “ยิ่งพุงใหญ่เท่าไร ยิ่งตายเร็วเท่านั้น”

 

      ข้อมูลในประเทศไทยพบ เมื่อเกิดภาวะอ้วนลงพุง และเป็นเบาหวนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มากกว่าคนปกติถึง 5 เท่าปัจจุบันพบภาวะอ้วนและลงพุงมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณว่าประชากรในประเทศไทยที่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือ 9.3 ล้านคน มีเส้นรอบพุงเกินเกณฑ์ที่กำหนด โดยพบว่าผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (52% เทียบกับ 22%) และพบว่าผู้อาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าชนบท (45% เทียบกับ 34%)

      องค์การอนามัยโลกระบุภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงเป็นสาเหตุของการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญโดยคิดเป็นสัดส่วน 2-6% ของงบประมาณด้านสุขภาพของประเทศ เฉพาะที่สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2001 มีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากภาวะอ้วนถึง 117,000 ล้าน US ดอลลาร์ หรือประมาณ 4 ล้านล้านบาท

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome

     ผู้หญิงที่มีรอบเอวตั้งแต่ 80 เซนติเมตร ผู้ชายรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตร และมีภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ
     1.ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 ,ผู้ที่ได้รับยารักษาความดันโลหิต
     2.ระดับ Triglyceride >150 mg% ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
     3.ระดับ HDL > 40,50 mg%สำหรับชายและหญิง ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
     4.ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 mg% หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่2
     
     พบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่ม 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

      - อายุ พบว่าอายุมากมีโอกาสเป็นสูง ผู้ที่มีอายุ 20พบภาวะนี้เพียง 10% คนที่อายุ 60 มีอัตราการเกิดร้อยละ 40
      - เชื้อชาติ คนผิวดำจะมีโอกาสมากกว่าปกติ
      - คนอ้วนจะมีโอกาสมากกว่คนผอม
      - ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคสูง
      - โรคอื่นๆเช่นความดันโลหิต

ภาวะนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

     - ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบจึงเกิดโรคหัวใจได้ง่าย
     - ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
     - ไขมัน triglycerideที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดตีบ
     - เลือดจะแข็งตัวได้ง่ายทำให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือหัวใจ
     - เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย

การรักษา

     เมื่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรค Metabolic Syndrome จะต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเบาหวาน และจะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอื่นด้วย การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม
     1.การออกกำลังกาย วันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 5 วันจะลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
     2.การรับประทานอาหารสุขภาพ ลดอาหารไขมันลง และรับอาหารพวกแป้งไม่เกินร้อยละ 50 ของอาหารที่รับประทาน ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่นอาหารธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ถั่ว ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปามล์ งดกระทิ
     3.ลดน้ำหนัก จากการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และอเมริกาพบว่าการลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนัก จะชลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
     4.ลดการดื่มสุราและสูบบหรี่



ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สุขภาพ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 55,263 Today: 14 PageView/Month: 190

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...